คำว่า กาแฟ มีรากในหลายภาษา

โดย Admin Pitbull Coffee 8/5/2563 เวลา 22:19 น.



คำว่า " กาแฟ " มีรากในหลายภาษา
 -ในเยเมน เรียกว่า “กาหว่าห์” (qahwah) ซึ่งเป็นชื่อ ดั้งเดิม  เป็นคำที่มีความหมายโรแมนติกสำหรับ “ไวน์” หลังจากนั้นก็ได้กลายเป็น “คาเหว่ห์”(kahveh) ในตุรกี แล้วก็กลายเป็น “โคฟฟี”( Koffie) ของชาวดัตช์ และในที่สุดก็มาเป็น “คอฟฟี”(Coffee) ภาษาอังกฤษ -(-และ “กาแฟ” ในภาษาไทย)

กาแฟสมัยใหม่ที่เราดื่มกันทุกวันนี้มีกำเนิดจาก อารเบีย ในช่วง ศตวรรษที่ 13 กาแฟ ได้รับความนิยมอย่างยิ่งในชุมชนมุสลิมเพื่อ กระตุ้นกำลัง  ซึ่งพวกเขาได้พิสูจน์ว่ามีประโยชน์ในระหว่างการประชุม อธิษฐานที่ยืดยาว โดยการคั่วเมล็ดกาแฟ ให้เกรียมแล้วต้ม จนกลายประเพณีการดื่มกาแฟกันอย่างแพร่หลาย

เมื่อมีความต้องการหรือ demand มากชาวอาหรับก็สามารถที่จะขยายการเพาะปลูกและนำมาขายในตลาดได้ จนกล่าวกันว่า "ไม่มีพืชชนิดนี้แม้แต่ต้นเดียว ที่ปลูกอยู่นอกผืนดินของอารเบีย"

จนถึงยุคศตวรรษที่ 16  เมื่อ บาบา บุดาน (BaBa Budan) นักแสวงบุญชาวอินเดีย  กลับมาจากเมกกะ เขาได้หอบเอาเมล็ดกาแฟจำนวนหนึ่งใส่ถุงทำสายรัดผูกติดกับหน้าท้องของเขา และนำมาปลูกในอินเดีย จากนั้น บาบา บีนส์ (Baba Beans) ได้กลายมาเป็นกาแฟชนิดใหม่ ที่แข่งขันในตลาดกาแฟของยุโรป


ในปี 1616   ชาวดัตช์ได้ก่อตั้งไร่กาแฟที่มีชาวยุโรปเป็นเจ้าของขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศศรีลังกา หลังจากนั้นก็ไปที่เกาะซีลอน แล้วก็ไปยังเกาะชวาในปี 1696 ส่วนฝรั่งเศสเริ่มปลูกกาแฟในแถบทะเลแคริบเบียน ตามด้วยสเปนปลูกในอเมริกากลาง และโปรตุเกส ในบราซิล  ในขณะที่ร้านกาแฟใน ยุโรปผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด เช่นในอิตาลี และ ต่อมามีในฝรั่งเศส และกลายเป็นระดับใหม่ของเครื่องดื่มยอดนิยม และแล้วมันก็กลายไปเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับคนฝรั่งเศส (de rigueur for Parisians) --กาแฟ กับ ขนมปัง หรือครัวซองต์ เสริฟที่ร้านกาแฟจำนวนมากทั่วปารีส และพืช “กาแฟ” ได้เดินมา ถึงโลกใหม่-อเมริกา-ในช่วง ต้นศตวรรษที่ 18 แต่ เครื่องดื่มยังไม่เป็นที่นิยมจริงจัง จนกระทั่งงานเลี้ยงน้ำชาที่ บอสตันในปี 1773  เมื่อมีการในงานเลี้ยงนั้นได้ เปลี่ยนจาก “น้ำชา” เป็น “กาแฟ” และได้กลายไปเป็นบางสิ่งบางอย่างของการปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความรักชาติ สงครามกลางเมือง และความขัดแย้ง อื่น ๆ ที่ตามมา จนกระทั่งถึงการประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ ในปี 1776

นอกจากนี้กาแฟยังช่วยในการเพิ่มการบริโภค- ทหารพึ่งพาคาเฟอีนสำหรับการเพิ่มพลังงาน มันอาจจะ เริ่มช้าที่นี่ แต่ ชาวอเมริกันที่รักกาแฟมีไม่น้อยกว่าส่วนต่างๆของโลก -เท็ดดี้ รูสเวล (Theodore Roosevelt-ประธานาธิบดี คนที่ 43 ของอเมริกา) ถูกนับว่าเป็นนักดื่มกาแฟตัวฉกาจในหมู่ของอเมริกา


มีข่าวลือกันว่าเขาดื่มกาแฟวันละแกลลอน!โรสเวลต์ บอกว่าเขาจะประกาศเกียรติคุณให้ “Maxwell House”กาแฟอเมริกัน ที่มีชื่อเสียงนี้ว่า “Good to the Last Drop”  และกลายมาเป็นสโลแกน หลังจากที่ถูกเสิร์ฟกาแฟที่บ้านประวัติศาสตร์ แอนดรู แจ็คสัน  เดอะเฮอมิเทจ ในรัฐเทนเนสซี

สาระน่ารู้เกี่ยวข้อง