จากยุค 2nd wave เราเรียกชื่อกาแฟจากการคั่วว่าอย่างไรกันบ้าง

โดย Admin Pitbull Coffee 24/4/2563 เวลา 23:10 น.



จากยุค 2nd wave เราเรียกชื่อกาแฟจากการคั่วว่าอย่างไรกันบ้าง

ไลต์ (Light), ชินนาม่อน (Cinnamon), ซิตี้ (City): คำที่บ่งบอกชื่อกาแฟคั่วบอกอะไรเรา 

- เมล็ดกาแฟดิบหรือที่เรียกว่ากาแฟสารที่ถูกนำมาผ่านการคั่วให้ออกมาเป็นกาแฟกลิ่นหอมๆ ให้เราๆ ได้ดื่มกันนั้นมีรูปแบบและเทคนิควิธีการคั่วแตกต่างกัน ความแตกต่างของวิธีการคั่วกาแฟย่อมมีผลต่อรสชาติและกลิ่นของกาแฟโดยตรง อย่างไรก็ตามมีชื่อที่ใช้งานอย่างมากมายเพื่อใช้อรรถาธิบายถึงลักษณะของการคั่วกาแฟนั้น และแน่นอนว่าด้วยจำนวนชื่อที่มากมาย ย่อมทำให้คนดื่มสับสนต่อความหมาย หรือแต่ละคนเข้าใจความหมายของชื่อเดียวกันไปคนละทิศทาง ฉะนั้นการทำความเข้าใจกับชื่อเหล่านี้จะช่วยให้คุณเห็นถึงลักษณะที่คาดหวังหรือสิ่งที่ควรมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นหอม รสชาติ จากกาแฟของคุณ นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณเปิดโลกในเรื่องกาแฟ ทำให้คุณเข้าใจกาแฟที่คุณชอบได้ดียิ่งขึ้น และแน่นอนว่าคุณอาจค้นพบกาแฟแปลกใหม่ที่คุณอาจชอบมันมากขึ้นไปอีก

ชื่อกาแฟคั่วสามารถอาจสร้างความสับสนแก่คนที่ไม่เข้าใจได้ 

- เราอาจเคยได้ยินชื่อเรียกกาแฟคั่วสักสองสามชื่อ บางชื่อเกี่ยวข้องกับลักษณะทางกายภาพ (Cinnamon) บางชื่อเรียกมาจากแหล่งกำเนิดของกาแฟคั่วนั้นๆ (Viennese) หรือบางชื่อเรียกบอกถึงเวลา (After Dinner, Breakfast)
แม้ว่าเรื่องการตั้งชื่อเรียกเหล่านี้จะมีมาตราฐานแต่ก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น คำศัพท์บางคำใช้แทนกันได้ บางคำสามารถอธิบายถึงระดับการคั่วที่มีหลากหลาย และชื่อกาแฟคั่วบางชื่อก็ไม่ได้อ้างอิงถึงรสชาติหรือกลิ่นของกาแฟโดยตรงเลย

เราได้ยินบ่อยๆ ว่า กาแฟที่คั่วเข้มๆ นั้นจะให้คาเฟอีนสูงกว่า แท้จริงแล้วกาแฟที่คั่วแบบอ่อนนั้นจะมีคาเฟอีนต่อเมล็ดที่มากสูงกว่า และมีน้ำหนักที่มากกว่าด้วย ดังนั้นเราจึงไม่เห็นความแตกต่างที่แท้จริงอย่างของปริมาณคาเฟอีนในแก้วกาแฟที่ดื่ม 
ระดับการคั่วนั้นแบ่งออกเป็นสามประเภทตามเฉดสี ได้แก่ สีอ่อน (Light) สีปานกลาง (Medium) และสีเข้ม (Dark) ลองมาดูความคล้ายคลึงและความแตกต่างของแต่ละหมวดหมู่กัน

กาแฟระดับคั่วอ่อน (Light Roasts)
- คั่วอ่อนคือ เมล็ดกาแฟที่คั่วออกมามีสีน้ำตาลอ่อน และจะยังไม่มีน้ำมันเคลือบที่ผิวหรือชั้นนอกของเมล็ด เนื่องจากมันไม่ได้คั่วนานพอที่น้ำมันเหล่านั้นจะผ่านออกมาได้

โดยทั่วไปแล้วกาแฟคั่วแบบอ่อนจะมีรสชาติที่อ่อนนุ่ม มีอะซิดิตี้แบบผลไม้ และยังรักษารสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมของเมล็ดกาแฟนั้นๆได้มากกว่าการคั่วแบบเข้มกว่า กาแฟที่คั่วอ่อน ๆ นั้นจะให้ความรู้สึกสะอาด แจ่มชัด เต็มไปด้วยกลิ่นดอกไม้และผลไม้ที่ละเอียดอ่อนและมีความเปรี้ยวสูง เนื้อสัมผัสเมื่อดื่มกาแฟแบบนี้จะรู้สึกบางๆ เบาๆ เราสามารถลิ้มรสอันเป็นคุณลักษณะเดิมตามธรรมชาติของกาแฟนั้นได้

แม้ว่าการคั่วแบบอ่อนจะสามารถทำให้เราได้ดื่มกาแฟในรสชาติอันเป็นธรรมชาติของมัน แต่มีข้อพึงระวังในกรณีที่คนคั่วกาแฟไม่ได้ชำนาญพอ อาจคั่วออกมาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้รสชาติที่ออกมาผิดเพี้ยนไปได้ 

กาแฟคั่วอ่อนมีด้วยกันหลากหลายชื่อ  ที่เห็นบ่อยๆ เช่น 
Light City/Half City: ถ้าเห็นชื่อนี้ให้เข้าใจเลยว่า อ่อนกว่าการคั่วแบบ Medium city 
Cinnamon: ชื่อบอกถึงสีของเมล็ดกาแฟคั่ว ไม่ได้บอกถึงกลิ่นรสตามความหมายใดๆทั้งสิ้น (ชินนาม่อน หรือ อบเชย)

กาแฟคั่วระดับปานกลาง (Medium Roasts)
- เมื่อคั่วกาแฟที่อุณหภูมิสูงขึ้น และนานขึ้นมาหน่อย สีของเมล็ดกาแฟจะออกเข้มกว่าสีของกาแฟคั่วแบบอ่อน แต่ยังไม่ถึงขนาดที่มีน้ำมันเคลือบจับผิวเมล็ด การคั่วกาแฟแบบนี้ถูกคั่วผ่านช่วง First crack จนถึงช่วงเวลาหนึ่งเพื่อให้เกิดการพัฒนาทางองค์ประกอบเคมีมากขึ้น
การคั่วแบบปานกลางนี้เป็นจุดพบกันระหว่าง คุณลักษณะของรสสัมผัสตามธรรมชาติของเมล็ดกาแฟและเนื้อสัมผัสที่มีปริมาณมากขึ้น นำมาซึ่งความสมดุลระหว่าง Acidity และ Body
การเพิ่มขึ้นของการเปลี่ยนแปลงทางมีเกิดน้ำตาลคาราเมล ส่งผลถึงให้ได้รสชาติของผลไม้ที่ลึกลงไป
การสลายตัวของโมเลกุลน้ำตาลด้วยความร้อนสูงจากปฏิกิริยาการเกิดคาราเมลที่เพิ่มขึ้นเป็นผลทำให้ได้กลิ่นรสผลไม้เพิ่มขึ้น และยังสามารถสร้างกลิ่นรสโทน Chocolate และ Nutty อีกด้วย

ชื่อที่ใช้เรียกกาแฟคั่วแบบกลาง เช่น 
American: ชื่อบอกถึงสไตล์หรือการดื่มของคนอเมริกัน
Breakfast/After Dinner: ทั้งสองตัวเหมือนกัน แต่ After dinner จะเข้มกว่านิดๆ
City+: ซิตี้พลัสจะมีความเข้มกว่ากาแฟคั่วแบบ City เล็กน้อย
Full City: กาแฟชื่อนี้จะค่อนไปทางเกือบเข้มแล้ว  ขั้นตอนการคั่วก็อาจใกล้ Second crack

กาแฟคั่วเข้ม (Dark Roasts)
- กาแฟคั่วเข้มนั้นมีตั้งแต่สีน้ำตาลปานกลางจนถึงสีดำเหมือนถ่านมันวาว ยิ่งคั่วกาแฟนานขึ้นยิ่งทำให้น้ำมันที่อยู่ในเมล็ดกาแฟออกมาสัมผัสกับพื้นผิวมากขึ้น การคั่วแบบนี้จะผ่านจุด Second crack ซึ่งเกิดขึ้นที่ประมาณ 230 ° C / 446 ° F
การคั่วกาแฟแบบเข้มจะทำให้เมล็ดกาแฟสูญเสียความชื้นที่มีอยู่ภายในออกไป ด้วยเหตุนี้กาแฟคั่วเข้มจึงมีความหนาแน่นน้อยลง การคั่วที่นานขึ้นทำให้เกิดกลิ่นใหม่ๆ ที่ไปกลบหรือพรางกลิ่นรสดั้งเดิม ซึ่งหมายความว่ามันจะมีลักษณะที่เบาบางลงในมิติของกลิ่นรส (ความเปรี้ยวของกาแฟลงลง) แต่มี Body ที่เพิ่มมากขึ้น
การคั่วแบบเข้มนั้นยังจะรักษารสชาติดั้งเดิมของเมล็ดกาแฟไว้ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยส่วนใหญ่แล้วรสชาตินั้นมาจากการคั่ว เราอาจสัมผัสไม่ได้ถึงอะเซดิตี้หรือความหวานของกาแฟ แต่จะได้รสดาร์กช็อกโกแลต ได้กลิ่นควันและความขม รวมทั้งกลิ่นรสของเครื่องเทศเข้ามาแทนที่

ชื่อที่ใช้เรียกกาแฟแบบเข้ม เช่น 
Viennese: ชื่อนี้หมายความว่าคือกาแฟแบบเข้มกลางๆ  การคั่วลักษณะนี้จะทำถึงช่วงกลางๆ หลังจาก Second crack  ส่วนชื่อนี้นั้นตั้งตามลักษณะการดื่มอันเป็นที่นิยมของคนเวียนนา ประเทศออสเตรีย
New Orleans:  เมือง นิวออร์ลีนส์ เป็นที่รู้จักว่าดื่มกาแฟแบบเข้มๆ 
French: การคั่วที่ผ่านช่วง Second crack ไปสักระยะ หรืออาจกล่าวได้ว่าสีของมันเข้มเกือบสุดมาตรวัดของสี โดยมีค่าแอคตรอน Agtron ราวๆ 28-35 (SCAA)  เชื่อกัน