ว่ากันว่า กาแฟทำให้...

โดย Admin Pitbull Coffee 23/1/2564 เวลา 15:00 น.

คนหลายคนหลงใหลจนกระทั้งซื้ออุปกรณ์มาชงเองที่บ้าน ในขณะหลายคนซื้อคอร์สเรียนเพื่อที่จะเข้าใจเจ้าผลไม้นี้ แต่ก็ยังอีกหลายคนที่ดื่มกาแฟ และยังคงมีความเชื่อหรือชุดข้อมูลเกี่ยวกับการดื่มที่ผิดอยู่บ้าง (ส่วนใหญ่มาจากพูดต่อ ๆ กันเรื่อย ๆ)
.
ทุกครั้งมี่เรานำเสนอข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับกาแฟไม่ว่าจะเป็นหลักทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือหลักปฏิบัติการชงกาแฟที่มีอยู่หลากหลาย เรามักจะกล่าวอยู่ทุกครั้งว่า เรื่องกาแฟ “มันไม่มีถูก และไม่มีผิด”
.
เราจะต้องไม่ลืมไปว่า “ไม่มีถูก ไม่มีผิด” นั่นหมายถึงเรื่องของการสร้างสรรค์เมนู รสชาติ หรือเป็นเรื่องของความชอบของแต่ละคนที่ตะชอบดื่ม ชอบชงเทคนิคนั้น ชอบใช้เทคนิคนี้ ชอบเมนูหรือชอบกลิ่นและรสชาติที่ต่างกัน แต่ทุกอย่างจะต้องอยู่บนหลักของความจริงที่พิสูจน์ได้



กาแฟช่วยแก้ ”อาการเมาค้าง” (Hang Over)
.
การดื่มกาแฟไม่ได้ช่วยแก้อาการเมาค้างอย่างที่ใครหลายคนเชื่อกัน สารประกอบของกาแฟไม่ได้ลดฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ อีกทั้งในความเป็นจริงแล้ว การดื่มกาแฟอาจทำให้อาการเมาค้างของคุณแย่หนักลงไปอีก เพราะคาเฟอีนจะเพิ่มความดันโลหิตในร่างกาย (Blood pressure) และถ้าคุณปวดหัวเพราะอาการดื่มหนักจากเมื่อคืนอยู่แล้ว ให้จำเอาไว้ว่า กาแฟไม่ใช่ทางออกที่ดีเลย ดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ เพื่อขับแอลกอฮอล์ออกจากร่างกายเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าแน่นอน

กาแฟเป็นสาเหตุของ “ภาวะขาดน้ำ” (Dehydration)
.
สาเหตุหนึ่งที่ผู้นิยมดื่มกาแฟเป็นเพราะคาเฟอีน การบริโภคคาเฟอีนในปริมาณมาก ๆ อาจทำให้ร่างกายเจ้าสู่ภาวะขาดน้ำได้ ซึ่งทำให้คนทั่วไปคิดว่ากาแฟทำให้ร่างกายขาดน้ำโดยอัตโนมัติ แต่ทั้งหมดนี้เป็นความเชื่อที่ผิด การบริโภคกาแฟในปริมาณที่พอเหมาะพอควร จะไม่ทำให้เกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ

กาแฟช่วย “ลดน้ำหนัก”
.
จริงอยู่ที่กาแฟสามารถช่วยให้คุณอยากอาหารน้อยลง แต่ก็ไม่มีข้อใดบอกเลยว่า กาแฟนั้นสามารถช่วยในการลดน้ำหนักได้อย่างเป็นจริงเป็นจัง แต่ก็อาจมีส่วนช่วยเล็กน้อยในการเพิ่มและสนับสนุนกระบวนการเผาผลาญของร่างกาย (Metabolism)
.
แต่ในระยะยาว กาแฟไม่สามารถลดน้ำหนักได้โดยตรงอยู่แล้ว (เรากำลังพูดถึงกาแฟ และสารที่อยู่ในกาแฟเท่านั้น กาแฟที่เคลมว่าช่วยลดน้ำหนัก อาจจะมีสารสกัดจากพืชตัวอื่น ๆ ที่ช่วยในเรื่องของระบบขับถ่าย)

กาแฟไม่เหมาะกับ “สตรีมีครรภ์”
.
การดื่มกาแฟเป็นเรื่องปกติมาก แม้ว่าคุณกำลังตั้งครรภ์อยู่ก็ตาม แต่เราจะต้องควบคุมปริมาณการบริโภคต่อวันและควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอทุกครั้ง เนื่องจากร่างกายของคุณแม่แต่ละคนมีข้อจำกัดในการรับสารคาเฟอีนที่แต่ละคนรับคาเฟอีนได้ไม่เท่ากันอยู่แล้ว (เช่นเดียวกับร่างกายคนปกติ) ฉะนั้น สตรีมีครรภ์สามารถดื่มกาแฟได้ แต่ควรอยู่ในการควบคุมและการดูแลจากแพทย์อย่างเคร่งครัด

กาแฟไม่เหมาะกับ “ผู้ป่วยโรคหัวใจ”
.
การบริโภคกาแฟในระดับที่พอดี (Moderate Consumption) ไม่ได้ถือว่าเป็นอันตรายต่อผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ทว่า การที่เราดื่มกาแฟมากเกินไป ได้รับคาเฟอีนมสกเกินไป ตรงนี้ต่างหากที่จะเพิ่มความดันโลหิต (Blood pressure) ซึ่งจะเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate) และทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจสูงขึ้น (คนปกติถ้าดื่มไม่ระวัง ก็เสี่ยงเช่นกัน) ดังนั้นเราสามารถควบคุมปริมาณการบริโภคคาเฟอีนในกาแฟในแต่ละวันเพื่อให้ไม่กระทบสุขภาพได้ ทั้งนี้ สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์และควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเช่นกัน

ขอบคุณ Bean to brew

www.pitbullcoffee.com

สาระน่ารู้เกี่ยวข้อง